วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

มองในธรรม#ปฐมฤกษ์ วัดพระธรรมกายรวย?

มองในธรรม#ปฐมฤกษ์ 


ด้วยความต้องการของผู้เขียนเอง ต้องการจะมีพื้นที่ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิต
พื้นที่นั้น ก็สามารถแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ เปิดอ่านได้ด้วย

ผู้เขียนขอแบ่งเป็น คอลัมน์ ใน บล็อคนี้ตามห้วข้อของคอลัมน์นั้นๆ

-------------------------------------------------------------------

ในคอลัมน์นี้ชื่อว่า "มองในธรรม"
โดยรายละเอียดผู้เขียนมีเป้าหมายในการเขียนลัมน์นี้

จากการเอาประเด็นที่กำลังพูดถึงในสังคมในปัจจุบัน
นั้นคือ มุม "มอง" ซึ่งผู้เขียนก็จะมองในมุมที่คนทั่วไปมองกัน
ใช้หลักใจเขาใส่ใจเรา

และจะพูดถึง ความเห็นจากคน "ใน" เหตุการณ์ หรือสถานที่นั้นๆ
อาจจะเป็นความเห็นของผู้เขียนเองก็ได้ในฐานะที่อยู่ในเหตุการณ์
หรือได้สอบถามจากผู้อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ

สุดท้ายจะได้หยิบยก "ธรรมะ" มานำเสนอให้เป็นข้อคิดกัน

-----------------------------------------------------------------------

มองในธรรม #ปฐมฤกษ์

ด้วยช่วงนี้ (เดือน พ.ค. ปี ๕๙) ข่าวที่มาแรงแซงทุกกระแสเลยคงไม่พ้น ข่าววัดพระธรรมกาย
ครั้งนี้ผู้เขียนคงไม่พูดถึงประเด็นเกี่ยวกับ คดี ที่กำลังดำเนินอยู่

เพราะผู้เขียนเองก็ไม่ได้เก่งทางด้านกฎหมายมากนัก

เอาเป็นว่าครั้งนี้ขอตั้งโจทย์จากมุมมองของคนภายนอกที่

"มอง"


วัดพระธรรมกายรวย ?


สืบเนื่องจากผู้เขียนเองก่อนหน้านี้ ได้ศึกษาธรรมะปฏิบัติพระอาจารย์สายวัดป่าทางอีสาน
ด้วยความที่ได้ศึกษาและปฏิบัติมาบ้างแล้ว จึงเข้าใจในมุมมองนี้เป็นอย่างดี

เพราะ...หลักปฏิบัติของพระอาจารย์สายวัดป่าจะเน้นการกิน อยู่แบบเรียบง่าย
เดินจรงกรม ปฏิบัติธรรม หลักเร้นในป่า
ไม่ใช้ไฟฟ้า ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกเท่าไหร่นัก
ไม่มีสื่อสิ่งพิมพ์ทางโลกภายในวัด (เฉพาะวัดที่ผู้เขียนได้สัมผัสมา)

เมื่อหันกลับมามองอีกวัด คือ วัดพระธรรมกาย
จะเกิดอาการคิดในใจว่า นี้ วัดเหรอ?

เพราะเข้าไปแล้ว จะมองไปมุมใหนก็เจอ แต่ตึกสูงๆ อาคารใหญ่ๆ อุปกรณ์ต่างๆทันสมัย

ดูยังงัยก็ไม่เหมือนวัด!!!

แว็บแรก ก็เลย คิดว่า วัดนี้ "มีเงินมาก" หรือ "รวย" นั้นเอง

ช่วงต่อไปเรามามอง

"ใน"

มุมของวัดพระธรรมกายบ้าง

ด้วยที่ผู้เขียนได้เข้ามาสัมผัสด้วยตัวเองถึงวันนี้ก็เวลากว่า 8 ปีแล้ว
วันแรกที่ได้เข้ามาในวัด(แบบไม่ได้ตั้งใจ) ผู้เขียนเข้าใจว่า ได้เข้ามาห้างสรรพสินค้า 
หรือบริษัทอะไร ที่ไหนสักที่

(ณ เวลานั้น อยู่ใต้อาคาร ที่เรียกว่า "สถาธรรมกายสากล")

ใช่ครับ "บริษัท"  

ด้วยวัดมีทรัพยากรในการ "เริ่ม" สร้างเพียงเงินเพียง ๓ พันกว่าบาท
ดูประวัติเพิ่มเติมได้ที่นี้

พูดง่ายๆ ว่า วัดเริ่มต้นจาก ศูนย์ เติบโตมาจนถึงปัจจุบัน จนกลายเป็น...

เป็น "พุทธบริษัท" ที่เข้มแข็งมากอีกที่หนึ่งของโลก

(ที่จริงแล้ว ควรจะ เป็นสิ่งที่คนไทยต้องภูมิใจกันนะครับ)

ก็วัดนี้ มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ไม่น้อย เลยทีเดียว

แบ่งเป็นสำนัก เป็นกอง เป็นแผนก
น่าศึกษาไม่น้อย จนองค์กรพุทธทั่วโลกมากมาย เข้ามาศึกษาดูงานกันไม่ขาดสาย

ด้วยผู้นำคือ พระเทพญาณมหามุนี วิ. (หลวงพ่อธมฺมชโย)
ที่มี มโนปนิธาน ที่จะขยาย พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย

"ไปทั่วโลก"

ดูความหมายของวิชชาธรรมกาย

ว่าด้วยวัดขยายงานพระพุทธศาสนา ขยายไปภายในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ
ก็ว่าเยี่ยมยอดแล้ว แต่นี้ "ทั่วโลก" ย้ำครับ "ทั่วโลก"


นี้ก็ผ่านมากว่า 40 ปีแล้ว วัดพระธรรมกาย มีวัดสาขา ทั้งภายใน และต่างประเทศมากมาย
ในแต่ละที่ทำกิจกรรมในทางพระพุทธศาสนาตามพุทธประเพณีปกติทั่วไป

ด้วยเหตุนี้! จึงเกิดผู้เลื่อมใสศรัทธากับวัดพระธรรมกายขึ้น
จากหลักสิบ เป็นร้อย จากหลักร้อย เป็นพัน จนปัจจุบันเป็นหลักแสน
และคงถึงหลักล้านในไม่ช้า


ถ้าเปรียบเทียบว่า วัดพระธรรมกายเป็นองค์กรหนึ่ง 

ยกตัวอย่าง สมมุติเป็น องค์กรอนุรักษ์ป่าไม้

เป้าหมายองค์กรนี้ จะรักษาป่า และเพิ่มจำนวนป่าไม้ให้มากขึ้น

องค์กรนี้ ก็ต้องเสาะหา คนที่รักป่าไม้ แล้วเห็นดี เห็นชอบกับแนวคิดขององค์กร
ก็จะเกิดการสนับสนุนในด้านต่างๆ 

ผลลัพธ์ที่ผู้สนับสนุนต้องการจะเห็นคือ มีป่าไม้เพิ่มมากขึ้น

นี้เป็นเรื่องปกตินะ

กลับมาวัดพระธรรมกายก็เช่นกัน

วัดพระธรรมกายเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง สร้างผลผลิตคือ

๑. มีวัดหรือศูนย์ปฏิบัติธรรม ให้คนมาปฏิบัติธรรม เพิ่มมากขึ้น

๒. สร้างพระ ที่ปฏิบัติดี เพิ่มมากขึ้น

๓. ฝึกสาธุชนให้อยู่ใน ศีล ใน ธรรม เพิ่มมากขึ้น

สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นได้ก็ด้วย มีผู้สนับสนุน เห็นดี เห็นงาม ช่วยสนับสนุนปัจจัย ๔

ให้ดำเนินตามเป้าหมายด้วยความเรียบร้อย

นี้เป็นเรื่องปกตินะ


"เมื่องานมาก เป้าหมายใหญ่ ก็ต้องใช้ทุนทรัพย์มาก" 

จริงไหม?

สิ่งดีๆ ที่ทำให้สังคมมีความสุข ด้วยศีลธรรม ก็น่าจะสนับสนุนกันให้มากๆ นะครับ


ต่อไปเรามามองในมุม ทาง

"ธรรม"



การสร้างวัดมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลเริ่มตั้งแต่ครั้งเสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสาร 
หลังจากตรัสรู้ได้ประมาณ ๙ เดือน 

โดยในยุคนั้น การสร้างวัดแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท
ประเภทที่ ๑ คือ วัดเพื่อการเผยแผ่
ประเภทที่ ๒ คือ วัดเพื่อการศึกษา
ประเภทที่ ๓ คือ วัดเพื่อการบรรลุธรรม 

วัดทั้ง ๓ ประเภทนี้ มีขนาดพื้นที่ ลักษณะของท้องถิ่น และลำดับการเกิดขึ้น ก่อนหลังที่แตกต่างกัน แต่มีลักษณะส่งเสริมกันในด้านการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้พระภิกษุในยุคนั้น แม้อยู่ต่างวัดกัน แต่ก็ทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียวกัน


"วัดเพื่อการเผยแผ่"


วัดเพื่อการเผยแผ่ หมายถึง วัดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น 
"ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำยุค"
มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่หลายร้อยหลายพันไร่ เป็นอุทยานร่มรื่น 
อาคารสถานที่ใหญ่โตมโหฬาร รูปทรงแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และความสง่างาม
ก่อสร้างด้วย งบประมาณจำนวนมาก ตกแต่งด้วยวัสดุที่ทรงคุณค่าพิเศษ 
มีความประณีตอลังการ นิยมสร้างอยู่ในเขตป่าแถบชานเมือง 
นอกเมืองหลวงของอาณาจักร โดยสามารถใช้เป็นที่อยู่ จำพรรษา 
ของพระภิกษุได้ไม่ต่ำกว่า ๔๐,๐๐๐ รูป 
และสามารถจัดประชุมใหญ่ของชาวพุทธได้ไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐,๐๐๐ คน

ในสมัยพุทธกาล บุคคลที่สร้างวัดเพื่อการเผยแผ่นี้ 
ส่วนใหญ่ได้แก่ "พระราชา"ผู้ปกครองแคว้น 
และ "อัครมหาเศรษฐี"ระจำแคว้น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปกครองบริหาร
และพัฒนาสังคมเศรษฐกิจของบ้านเมืองในยุคนั้น 
เนื่องจากได้ฟังพระธรรมคำสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงแล้ว 
ต่างก็ประจักษ์ซาบซึ้งว่า พระธรรมคำสอนนั้นสามารถนำพาผองชน
ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารได้จริง 
จึงประกาศตนเป็นศิษย์ของพระบรมศาสดา ทุ่มเทกำลังทรัพย์และกำลังสติปัญญา 
เพื่ออุปถัมภ์ค้ำจุนพระภิกษุสงฆ์และอำนวยความสะดวก 
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วทุกแว่นแคว้น 
ด้วยการสร้างวัดให้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขึ้น ในบ้านเมืองของตัวเอง 

ตัวอย่างวัดที่ถูกสร้าง เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

๑. เวฬุวนาราม, ๒.เชตวนาราม, ๓.บุพพาราม เป็นต้น



"วัดเพื่อการศึกษา"


วัดเพื่อการศึกษา โบราณเรียกว่า คามวาสี หรือ วัดบ้าน
หมายถึง วัดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น โรงเรียนสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่นŽ 
สำหรับพระภิกษุและชาวบ้านที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ 
ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างทั่วถึง 

คำว่า คามวาสี (คา-มะ-วา-สี) ในพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ฉบับ คำวัด
ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ปธ.๙, ราชบัณฑิต) ได้ให้ความหมายไว้ว่า 
คามวาสี แปลว่า ผู้อยู่ในหมู่บ้าน ผู้ประจำอยู่ในหมู่บ้าน
คามวาสี หมายถึง ภิกษุที่พำนักอยู่ตามวัดในหมู่บ้านหรือในตัวเมือง 
มีกิจวัตรประจำเน้นหนักไปในทางคันถธุระ 


คือ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม มีภารกิจ คือ การบริหารปกครอง 
การเผยแผ่ธรรม และการก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นหลัก 
เรียกกันทั่วไปว่า พระบ้าน พระเมือง ซึ่งเป็นคู่กับคำว่า อรัญวาสี คือ พระป่า


หากกล่าวโดยสรุปในเรื่อง วัดเพื่อการศึกษา
ก็คือ การรวมพลังศรัทธาของ สามประสาน ในท้องถิ่นนั้น 
ได้แก่ เศรษฐี คหบดี และกลุ่มชาวบ้าน ที่พร้อมใจช่วยกันสร้าง 
วัดเพื่อการศึกษา เพื่อทำงานเผยแผ่ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง 
เป็นพลังความสามัคคีของท้องถิ่น ส่งผลให้งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ในสมัยพุทธกาลหยั่งรากฝังลึกในจิตใจมหาชน และแผ่ขยายขจรขจายในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว 
ทำให้การตรัสรู้ ของพระองค์ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ไม่สูญเปล่า 
การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจึงเป็นปึกแผ่น 
มั่นคงได้ทันกับเวลาอายุสังขารของพระพุทธองค์ 
ดังตัวอย่างเช่น อัมพาฏกวันของ จิตตคฤหบดี เป็นต้น

"วัดเพื่อการบรรลุธรรม"


วัดเพื่อการบรรลุธรรม โบราณเรียกว่า "อรัญวาสี" หรือ "วัดป่า" 
หมายถึง วัดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น "สถานที่บำเพ็ญภาวนาในป่า" 

มีบรรยากาศเงียบสงบ ร่มรื่น มีสถานที่หลีกเร้นเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา
อยู่ในป่าตลอดทั้งกลางวันทั้งกลางคืน


คำว่า อรัญวาสี (อะ-รัน-ยะ-วา-สี) ในพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ฉบับ คำวัด ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) ได้ให้ความหมายไว้ว่า
อรัญวาสี แปลว่า ผู้อยู่ในป่า ผู้อยู่ประจำในป่า
อรัญวาสี เป็นชื่อเรียกคณะสงฆ์โบราณคณะหนึ่ง ซึ่งตั้งวัดอยู่ในป่าห่างชุมชน เรียกว่า คณะอรัญวาสี คู่กับคณะคามวาสี ซึ่งตั้งวัดอยู่ในชุมชน
อรัญวาสี ปัจจุบันหมายถึง ภิกษุที่พำนักอยู่ในป่าหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า 
พระป่า ซึ่งมีกิจวัตรประจำเน้นหนักไปในทางวิปัสสนาธุระคืออบรมจิต 
เจริญปัญญา นุ่งห่มด้วยผ้าสีปอนหรือสีกรัก มุ่งการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่เป็นหลัก 
ไม่เน้นงานด้านการบริหารปกครอง การศึกษาพระปริยัติธรรม 
และสาธารณูปการหรือการก่อสร้างพัฒนาวัด

ในสมัยพุทธกาลนั้น บุคคลที่สร้างวัดป่าส่วนใหญ่
ได้แก่ "หัวหน้าหมู่บ้าน" หรือ "ชาวบ้านที่มีศรัทธา" 
ถ้าเป็นหัวหน้าหมู่บ้านก็จะใช้กำลังทรัพย์และกำลังบริวารของตัวเอง 
เป็นเรี่ยวแรงในการสร้างวิหารไว้ในป่า จากนั้นก็จะนำปัจจัย ๔ 
ไปถวายอุปัฏฐากพระภิกษุ ถึงที่วัดตลอดทั้งพรรษา 
แต่ถ้าเป็นชาวบ้านก็จะอาศัยกำลังของตัวเองเพียงลำพังในการสร้างกุฏิที่พักไว้ในป่า 
จากนั้นจะนิมนต์ให้ไปรับบิณฑบาตที่บ้านในเวลาเช้า บางคนก็นิมนต์ 
พระภิกษุให้ฉันที่บ้าน บางคนก็ใส่บาตรให้พระภิกษุนำกลับไปฉันที่วัด 
หลังจากพระภิกษุฉันเสร็จแล้ว ก็จะนั่งบำเพ็ญภาวนาในที่หลีกเร้นตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน 
บรรยากาศ ในวัดป่า จึงไม่มีการประชุมรวมคนในหมู่บ้านเพื่อทำบุญและฟังธรรม 
มีแต่บรรยากาศของ การบำเพ็ญภาวนาอย่างเงียบสงบตลอดวัน 
เพราะพระภิกษุต้องการใช้วันเวลาในวัดป่าตลอด ทั้งพรรษา 
ให้หมดไปกับการกำจัดอาสวกิเลสภายในให้หมดสิ้นไปอย่างรวดเร็วที่สุด 
ซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ของการไปจำพรรษาอยู่ในป่านั่นเอง

______________________________________________


จากเรื่องราวการสร้างวัดในสมัยพุทธกาล จะพบว่า 
แท้ที่จริงแล้วก็สร้างเป็นไปตามพุทธประสงค์
คือ สร้างวัดให้อำนวยความสะดวกแก่
พุทธบริษัทในการศึกษาเล่าเรียนด้านภาคปริยัติ การเผยแผ่ 
การปฏิบัติ รวมถึงการปฏิเวธด้วย


เพราะแท้ที่จริงแล้วที่สุดของพระพุทธศาสนาคือการเข้าถึงธรรม
ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเข้าถึง
จึงจะสามารถเป็นประจักษ์พยานของพระพุทธศาสนาโดยแท้จริง

______________________________________________

จะเห็นว่า วัดใหญ่ในสมัยพุทธกาล ก็มีอยู่
สร้างเพื่ออำนวยความสะดวกในกิจการทางพระพุทธศาสนา
สร้างไปตามยุค สมัย ภูมิประเทศ และวัสดุอุปกรณ์ที่มีในท้องที่นั้นๆ

เพราะฉนั้นพูดถึงวัดพระธรรมกาย จะเป็นอย่างที่เราๆท่านๆ เห็นกันทุกวันนี้
ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

______________________________________________

ผู้เขียนขอให้มองจากมุมที่ว่า

วัดพระธรรมกายรวย

มาเป็น

"วัดพระธรรมกายพร้อม"
 (ขยายงานพระพุทธศาสนา)


จะถูกต้องกว่านะครับ

เดินตามตะวัน
๒๗-พ.ค.-๕๙




อ้างอิง : โอวาทพระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว)
              เรื่อง "วิวัฒนาการการสร้างวัด"

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เคล็ดลับการบริหารเวลา

เคล็ดลับการบริหารเวลา

บุคคลที่มีชื่อเสียงประสบความสำเร็จในชีวิตได้ 

ส่วนหนึ่งมาจากการบริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพ


วันนี้ Sunshine tomorrow จึงนำเคล็ดลับการบริหารเวลา มาแนะนำกันครับ

เรื่องแรก คือ การวางแผน เพราะการวางแผนเป็นหลักสำคัญของการทำงาน


โดย กำหนดจุดหมายของการทำงาน, ใช้เวลาให้ประหยัด และมีประสิทธภาพในการทำงาน


ควรมีการวางแผนงานเป็นปี, เป็นเดือน, เป็นสัปดาห์ และเป็นวันนะครับ

และฝึกการวางแผนบนปฏิทินจนเป็นนิสัย


เรื่องที่สอง คือ จัดเวลาให้เหมาะสมกับงาน โดยจัดระดับความสำคัญของงาน


งานใดที่ไม่เกิดประโยชน์ ควรตัดทิ้งไป และ ใช้เวลากับงานที่สำคัญ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เรื่องที่สาม คือ จัดเวลาให้เหมาะสมกับคน


เป็นการมอบหมายกระจายงานอื่นตามความเหมาะสม กำหนดวัตถุประสงค์การทำงานให้ชัดเจน 

ที่สำคัญสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานให้เกิดขึ้นอยู่เสมอครับ




เรื่องที่สี่ คือ การเตือนตนอยู่เสมอ 


สร้างวิธีที่ชาญฉลาดในการทำงานให้เสร็จลุล่วง 

ไม่ใช่ใส่ใจแค่การจัดระบบ แต่ไม่ทำอะไรเลย 

หรือ ทำงานที่มากไปจนไม่เคยประเมินคุณค่าที่แท้จริงของการทำงาน

ควรหมั่นฝึกฝนการตัดสินใจเพื่อทำงานที่เหมาะสมให้ทันเวลานะครับ


และเรื่องสุดท้าย คือ การควบคุมการทำงานเพื่อการมีเวลาที่ดีกว่า


เพราะการรู้จักใช้เวลานั้น คือการบริหารเวลาที่ฉลาดที่สุด

ซึ่งเราจะมีเวลสำหรับตัวเอง, ครอบครัว และสังคมมากขึ้น

ฝึกมีวินัยในการทำงาน, ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง, เพื่อมีเวลาที่ดีกว่า


....คนที่รู้จักใช้เวลาเท่านั้น 

จึงจะมีเสรีภาพในการใช้ชีวิตที่แท้จริงครับ...


พบกันใหม่กับสาระดีๆ จาก Sunshine tomorrow ในตอนต่อไปครับ